สรรพคุณของจับเลี้ยง ชื่อนี้มาจากชื่อเต็มๆว่า จับเลี่ยงจุ้ย
” จับเลี้ยง ” นี้มาจากชื่อเต็มๆว่า ” จับเลี่ยงจุ้ย “
หลายคนที่ทุ่มเททำงานหนัก หักโหมจนทำให้ร่างกายทรุดโทรม ฉะนั้นจึงควรรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและการทำงานของอวัยวะสำคัญในร่างกาย และเครื่องดื่มก็มีความสำคัญเช่นกัน นอกจากน้ำและนม ยังมีเครื่องดื่มหลายประเภทที่เราบริโภคกันเป็นประจำ แน่นอนว่า ” จับเลี้ยง ” ก็เป็นอีกสมุนไพรที่หลายคนนึกถึงและนำมาทำเป็นเครื่องดื่มตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ก็ยังมีบางคนอาจยังไม่ทราบสรรพคุณ และประวัติความเป็นมาอย่างไร วันนี้เราเลยรวบรวมข้อมูลดีๆที่น่าสนใจให้คุณได้ลองศึกษาเพิ่มเติม ว่ามีอะไรบ้างมาดูกันเลยค่ะ
” จับเลี้ยง ” นี้มาจากชื่อเต็มๆว่า ” จับเลี่ยงจุ้ย “
คำว่า จับเลี้ยง มาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว แปลว่า ของเย็น 10 อย่าง หรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น 10 อย่าง โดยชาวจีนนำภูมิปัญญาทำเครื่องดื่มน้ำจับเลี้ยงมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยเอาสมุนไพรหลายชนิด ทั้งสมุนไพรไทยและจีนเข้าเป็นส่วนผสม ดื่มได้ทั้งแบบร้อนและเย็น
ส่วนประกอบ สมุนไพร 10 อย่าง ได้แก่ ดอกงิ้ว เมล็ดเพกา ดอกเก๊กฮวย ใบบัวบก รากบัว และเหม่ากึง(รากหญ้าคา) อีก 4 อย่างเป็นสมุนไพรจีนแต้จิ๋ว ได้แก่ หญ้าแห่โกวเช่า รากเทียนฮวยฮุ่ง โหล่วเก็ง และแซตี่ บางครั้งก็เพิ่มผลหล่อฮั้งก้วยเข้าไปด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม น้ำจับเลี้ยงที่ได้ก็ยังอาจมีรสขมฝาดเฝื่อน ไม่น่าดื่มนักสำหรับบางคน โดยเฉพาะเด็ก ชาวจีนจึงนิยมเพิ่มรสหวานในน้ำจับเลี้ยงด้วยการใส่เปียทึ้ง หรือน้ำตาลกรวด ไม่ก็ใส่โอวทึ้ง หรือน้ำตาลแดง หรืออาจใส่น้ำตาลทั้งสองชนิดผสม เพราะจะช่วยให้รสชาติน้ำจับเลี้ยง หอมหวานนุ่มนวลชวนดื่มยิ่งขึ้น แต่จะใส่แค่พอประมาณ พอให้ได้รสที่ดื่มได้ ไม่ใส่จนหวานเจี๊ยบเป็นน้ำหวาน เพราะอาจไปลดทอนสรรพคุณทางยาของน้ำจับเลี้ยงลงได้ เนื่องจากตัวสมุนไพรจีนต่างๆที่ใช้ ส่วนมากมักมีคุณสมบัติเย็น ขณะที่น้ำตาลเป็นของที่มีคุณสมบัติร้อนนั่นเอง
ส่วนสรรพคุณของจับเลี้ยง ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการร้อนใน โดยเฉพาะอาการร้อนในที่เกิดจากสภาวะที่ร่างกายขาดความสมดุล เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึก หรือกินแต่ของที่ทำให้ร้อน ของทอด ดื่มน้ำน้อย มีอาการทางระบบทางเดินอาหาร มีแผลในปาก ปากลิ้นเปื่อย ขมคอ เจ็บคอ คอแห้ง ตาร้อนผ่าว
หากดื่มน้ำจับลี้ยงมากไป ก็มีผลเสียเหมือนกัน คืออาจทำให้ภาวะสมดุลของร่างกายเสียไป จากที่ร่างกายเริ่มมีภาวะร้อนมากไป ก็จะกลับกลายเป็นมีภาวะเย็นเกินไป จากสมุนไพรจีนที่มีแต่คุณสมบัติเย็นนั่นเอง ผู้หญิงและผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ จึงไม่ควรดื่มจับเลี้ยงทุกวัน ดื่มเพียง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ก็เพียงพอแล้ว
หากพอรู้สรรพคุณของสมุนไพรจีนบ้าง จะเลือกใช้สมุนไพรจีนมาต้มเองก็เป็นสิ่งที่ดี เช่น
- ดอกงิ้ว
- แก้ร้อนใน ขับความชื้นในร่างกาย ถอนพิษ แก้ท้องเสียถ่ายเหลว แก้บิด
- เมล็ดเพกา
- ช่วยบรรเทาอาการแน่นหน้าอก บำรุงกระเพาะ ตับ และปอด และใช้เป็นยาขับถ่าย ช่วยระบายท้อง
- ดอกเก๊กฮวย
- แก้กระหาย เพิ่มความสดชื่น ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
- ใบบัวบก
- แก้อาการบวม อาการอักเสบ บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย แก้ปวดเมื่อย บำรุงตับ บำรุงเลือด บำรุงผิว ต้าน
- ใบบัวบก
- แก้อาการบวม อาการอักเสบ บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย แก้ปวดเมื่อย บำรุงตับ บำรุงเลือด บำรุงผิว ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ลดไข้ แก้ร้อนใน
- รากบัว
- เพิ่มการย่อยอาหาร ควบคุมความดันโลหิต ช่วยลดความเครียด ช่วยให้ผิวเปล่งปลั่ง เปล่งประกาย ช่วย กระตุ้นระบบทางเดินอาหาร ป้องกันการบวมน้ำ
- รากหญ้าคา
- เป็นตัวยาหลักในตำรับยาขับนิ่วหิน นิ่วกรวด นิ่วเบาเป็นเส้นในน้ำปัสสาวะ บำรุงไตและรักษาทางเดินปัสสาวะ ช่วยลดความดันโลหิตสูงได้อย่างปลอดภัย
- หญ้าแห่โกวเช่า
- แก้ต่อมน้ำเหลืองโต แก้อาการท้องเสีย แก้อาการเจ็บปากและเจ็บคอ ช่วยบำรุงตับ และหัวใจ กฎตาบวมแดงปวดศีรษะ ลดความดันโลหิต
- แซตี่
- ช่วยแก้ร้อนในได้ บำรุงเลือด ให้มีการไหลเวียนดีขึ้น ให้ประจำเดือนมาปกติ และช่วยระบบขับถ่ายจะทำให้บำรุงผิวพรรณลดปัญหาสิวเรื้อรังในตัวด้วย
วิธีทำ น้ำจับเลี้ยง
- ล้างจับเลี้ยงให้สะอาด ใส่ลูกหล่อฮังก้วย 3 ลูก ฉีกแผ่นดำเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ลงในน้ำ 10 ลิตร ต้มด้วยไฟปานกลางจนเดือด แล้วเร่งไฟจับเวลา 20 นาที
- กรองด้วยผ้าขาวบาง ใส่น้าตาลทรายแดง 250 กรัม และน้ำตาลกรวด 250 กรัม (หวานน้อยๆสำหรับคนรักษาสุขภาพ) เก็บในตู้เย็นได้ประมาณ 1/2 เดือน
ง่ายๆเพียงเท่านี้ก็ได้เครื่องดื่มสมุนไพรดีๆสำหรับคนที่คุณรักได้ดื่มกันที่บ้านแล้วค่ะ ติดตามความรู้ข่าวสารดีๆได้ที่ Herbal Fruits