แปะก๊วย ประวัติที่มาและสรรพคุณประโยชน์ของสมุนไพรตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ของมัน

แปะก๊วย ประโยชน์และสรรพคุณ

แปะก๊วย เป็นสมุนไพรที่มีอายุมาอย่างยาวนานมากอายุของมันอยู่มาไม่ต่ำกว่า 2,800 ปี ต้นกำเนิดของมันอยู่ที่ประเทศจีน (แถบภูเขาด้านตะวันตกของนครเซี่ยงไฮ้) และคนจีนนั้นนำเมล็ดของมันที่มีชื่อเรียกว่า เป่ยกัว (Bai Guo) หรือ หยิน ชิง (Yin Xing) นำมารับประทานและใช้เมล็ดเหล่านั้นมาเป็นยาสมุนไพร รักษาโรค เช่น โรคหืด โรคความหนาวที่เกิดขึ้นตามนิ้วหรือข้อมือ นิ้วเท้า แม้แต่ชาวญี่ปุ่นเองก็นำเมล็ดของมันมา รักษาอาการ โรคลมพิษเช่นกัน

แปะก๊วยนั้นมีชื่อเรียกของมันหลากหลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็น กิงโก้ (Gingko) ต้นเฟิร์นก้านดำ (Maidenhair tree) เป็นต้น ด้วยความที่ ต้นแปะก๊วยนั้นรูปทรงของมัน มีลักษณะเหมือนกับ ใบเฟิร์นก้านดำคล้ายๆใบพัด และด้วยความที่ต้นแปะก๊วยตามธรรมชาตินั้นอยู่ในสภาวะเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์เช่นเดียวกับ แพนด้ายักษ์ จึงทำให้มันได้สมญานามอีกอย่างนึงว่า แพนด้ายักษ์แห่งมวลพฤกษา “Giant Panda of Plants”

และความจริงก็คือ แปะก๊วยนั้นเป็นพืชที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 270 ล้านปีก่อน และถือกำเนิดขึ้นในยุคเพอร์เมียน เมื่อประมาณ 290 ล้านปีมาแล้ว มันมีชีวิตต่อมาในมหายุคมีโซโซอิก จึงเป็นอาหารของไดโนเสาร์กินพืชทั้งหลาย

ใบแปะก๊วยยังเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยโตเกียวประเทศญี่ปุ่นที่เป็นตัวแทนของความคงทน ไม่เปลี่ยนแปลง เหมือนต้นแปะก๊วยที่คงทนต่อสภาพแวดล้อม คงความเป็นต้นแปะก๊วยมาแต่ยุคโบราณกาลจนปัจจุบัน และมีความหมายในการปกป้องคุ้มครองภัย จากการที่วัดอันศักด์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวญี่ปุ่น มักจะถูกปกป้องจากอัคคีภัยหรือแผ่นดินไหวโดยต้นแปะก๊วย ส่วนในประเทศจีนแปะก๊วยยังใช้แทนตัวขงจื๊อ ผู้เป็นปราชญ์ใต้ต้นแปะก๊วย

รสชาติของใบแปะก๊วยและเมล็ด

มาพูดถึงเรื่องรสชาติของใบแแปะก๊วยนั้น แน่นอนมันจะมีรสขมโดยเฉพาะเมล็ดของมัน ดังนั้นควรนำเมล็ดหรือใบนั้นขจัดความขมของมันไป แต่สำหรับบางทานก็สามารถทานได้แม้จะมี

ลักษณะของต้นใบแปะก๊วย

แป๊ะก๊วย เป็นพืชอยู่ในวงศ์ Ginkgoaceae จัดเป็นสกุลพืชที่มีอายุค่อนข้างมากที่สุดของพืชมีเมล็ดทั้งหมด คนมักจะเข้าใจว่าแป๊ะก๊วยเป็นพืชดอก แต่แท้จริงเป็นพืชไม่มีดอก คือ จิมโนสเปิร์ม เหมือนปรง สน เพราะเปลือกหุ้มเมล็ดที่อวบอ่อนนุ่ม ทำให้คิดว่าเป็นผล

แป๊ะก๊วย เป็นพืชที่มีทั้งต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย ดอกตัวผู้จะออกเป็นช่อ ส่วนดอกตัวเมียออกเป็นกระจุกบริเวณปลายกิ่ง ใน 1 ดอก จะมีไข่ 2 อัน แป๊ะก๊วยต้นตัวผู้ออกดอกเป็นช่อสีเหลือง คล้ายหางกระรอก ติดอยู่ตรงปลายของกิ่งสั้น มากถึง 6 ช่อ ดอกตัวผู้สร้างละอองเกสรในระหว่างเดือนเมษายนจนถึงเดือนพฤษภาคม แล้วอาศัยแรงลมพัดพาไปสู่ดอกตัวเมียบนต้นตัวเมีย ต้นตัวผู้ออกดอกเป็นช่อมีสีเหลือง ช่อยาว 1.2-2.2 เซนติเมตร

รสชาติขมก็ตาม และวิธีการขจัดความขมนั้น ต้องน้ำเมล็ดแปะก๊วยที่ไม่ได้แกะนั้นไปแช่น้ำประมาณ 2- 3 ชั่วโมงหลังจากนั้นคัดแยกเมล็ดของมันที่เสียนั้นทิ้งไป และต้มด้วยน้ำเดือดประมาณ 10 – 15 นาทีเพื่อที่จะสามารถกระเทาะแกะเปลืองของมันออกมาได้ง่ายเมื่อแกะแล้วให้สักเกตุว่าจะมีแกนกลางไส้ของมันจะเป็นสีเขียวให้ดึงมันออกไป จากนั้นความขมของเมล็ดแปะก๊วยนั้นจะหายไปและสามารถรับประทานได้